ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lagerstroemia speciosa (L.) Pers.
ชื่อสามัญ : Queen's crape myrtle , Pride of India
วงศ์ : LYTHRACEAE
ชื่ออื่น : ฉ่วงมู ฉ่องพนา (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ตะแบกดำ (กรุงเทพฯ) บางอบะซา (มลายู-ยะลา, นราธิวาส) บาเย บาเอ (มลายู-ปัตตานี) อินทนิล (ภาคกลาง, ใต้)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ แต่ผลิใบใหม่ไว สูง 5-20 เมตร ลำต้น ต้นเล็กมักคดงอ แต่พอใหญ่ขึ้นจะเปลา ตรง โคนต้นไม้ไม่ค่อยพบพูพอน มักจะมีกิ่งใหญ่แตกจากลำต้นสูงเหนือพื้นดินขึ้นมาไม่มากนัก ดังนั้น เรือนยอดจึงแผ่กว้าง พุ่มแบบรูปร่มและคลุมส่วนโคนต้นเล็กน้อยเท่านั้น ต้นอินทนิลน้ำที่พบตามธรรมชาติในป่าทั่วๆ ไป จะมีเรือนยอดคลุมลำต้นประมาณเก้าในสิบส่วนของความสูงทั้งหมด ผิวเปลือกนอกสีเทาหรือน้ำตาลอ่อน และมักจะมีรอยด่างเป็นดวงสีขาวๆ ทั่วไป ผิวของเปลือกค่อนข้างเรียบ ไม่แตกเป็นร่องหรือเป็นรอยแผลเป็น เปลือกหนาประมาณ 1 ซม. เปลือกในออกสีม่วง ใบ เป็นชนิดใบเดี่ยว ออกตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย ทรงใบรูปขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมรูปหอก กว้าง 5-10 ซม. ยาว 11-26 ซม. เนื้อใบค่อนข้างหนา เกลี้ยง เป็นมันทั้งสองด้าน โคนใบมนหรือเบี้ยวเยื้องกันเล็กน้อย ปลายใบเรียวและเป็นติ่งแหลม เส้นแขนงใบ มี 9-17 คู่ เส้นโค้งอ่อนและจะจรดกับเส้นถัดไปบริเวณใกล้ๆ ขอบใบเส้นใบย่อยเห็นไม่เด่นชัดนัก ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นบ้างเล็กน้อย ก้านใบยาวประมาณ 1 ซม. เกลี้ยง ไม่มีขน ดอก โต มีสีต่างๆ กัน เช่น สีม่วงสด ม่วงอมชมพู หรือม่วงล้วนๆ ออกรวมกันเป็นช่อโต ยาวถึง 30 ซม. ตามปลายกิ่งหรือตามง่ามใบตอนใกล้ๆ ปลายกิ่ง ตรงส่วนบนสุดของดอกตูมจะมีตุ่มกลมเล็กๆ ตั้งอยู่ตรงกลาง ผิวนอกของกลีบฐานดอกซึ่งติดกันเป็นรูปถ้วยหรือรูปกรวยหงายจะมีสันนูนตามยาวปรากฎชัด และมีขนสั้นปกคลุมประปราย กลีบดอกบาง รูปช้อนที่มีโคนกลีบเป็นก้านเรียว ผิวกลีบเป็นคลื่นๆ บ้างเล็กน้อย เมื่อบานเต็มที่จะมีรัศมีกว้างถึง 5 ซม. รังไข่ กลม เกลี้ยง ผล รูปไข่เกลี้ยงๆ ยาว 2-2.5 ซม. เมื่อแก่จะแยกออกเป็น 6 เสี่ยง เผยให้เห็นเมล็ดเล็กๆ ที่มีปีกเป็นครีบบางๆ ทางด้านบน
ส่วนที่ใช้ : ใบ เปลือก ราก เมล็ด
สรรพคุณ :
ใบ - รักษาโรคเบาหวาน ลดน้ำตาลในเส้นเลือด ขับปัสสาวะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น